Community Engagement
ร้อยพลังการศึกษากับโครงการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนเพื่อบูรณาการการเรียนรู้สู่การพัฒนาทักษะอาชีพ

ในปีการศึกษา 2563 โครงการร้อยพลังการศึกษา ร่วมผลักดันโรงเรียนเครือข่ายในการพัฒนาทักษะอาชีพให้กับนักเรียน โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนในเครือข่าย มหาวิทยาลัย องค์กรธุรกิจทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ทำงานอาชีพต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะอาชีพให้กับนักเรียน

Community Engagement
ร้อยพลังการศึกษากับโครงการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนเพื่อบูรณาการการเรียนรู้สู่การพัฒนาทักษะอาชีพ

ในปีการศึกษา 2563 โครงการร้อยพลังการศึกษา ร่วมผลักดันโรงเรียนเครือข่ายในการพัฒนาทักษะอาชีพให้กับนักเรียน โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนในเครือข่าย มหาวิทยาลัย องค์กรธุรกิจทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ทำงานอาชีพต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะอาชีพให้กับนักเรียน

เพราะการพัฒนาเยาวชนเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือ

โครงการร้อยพลังการศึกษานอกจากจะทำงานร่วมกับโรงเรียนในเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนผ่านเครื่องมือต่างๆ โดยภาคีการศึกษาทั้ง 6 ภาคีแล้ว เรายังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีความมุ่งหวังอยากเห็นเยาวชนในพื้นที่ของตนเองได้รับการพัฒนาและมีความพร้อมในทักษะอาชีพสามารถเติบโตไปเป็นกำลังสำคัญให้กับชุมชนและประเทศต่อไปในอนาคต จึงชวนโรงเรียนในเครือข่าย มหาวิทยาลัย องค์กรธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน และผู้ทำงานอาชีพต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมกับ “โครงการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนเพื่อบูรณาการการเรียนรู้สู่การพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน (Community Engagement) ทั้งนี้เพื่อร่วมมือกันช่วยเหลือและพัฒนาเยาวชนในท้องถิ่นของตนตามกำลังและศักยภาพที่มีอยู่

การดำเนินงานโครงการ

เราเริ่มต้นโครงการด้วยการลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลขององค์กรธุรกิจและอาชีพต่างๆ ในพื้นที่ใกล้โรงเรียน รวมไปถึงการชักชวนองค์กรที่สนใจเข้ามาร่วมมือกัน เพื่อช่วยโรงเรียนในการพัฒนาทักษะอาชีพให้กับนักเรียน โดยการเปิดพื้นที่ให้นักเรียนได้เข้าไปศึกษาและได้ลงมือปฏิบัติงานเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ในองค์กร และสนับสนุนพนักงานมาเป็นวิทยากรให้ความรู้กับนักเรียนในโรงเรียนเพิ่มเติม เป็นต้น

องค์กร/หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมได้อย่างไร?

หน่วยงานภาครัฐและเอกชน (รวมถึงบุคคลและสถานประกอบการทั้งขนาดเล็ก/ขนาดใหญ่) สามารถมีส่วนร่วมในการออกแบบและจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพให้แก่นักเรียนได้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการค้นหาตัวเองและวางเป้าหมายในชีวิตให้แก่นักเรียน

  • ร่วมเป็นวิทยากรต้นแบบอาชีพ
  • เปิดพื้นที่การเรียนรู้อาชีพที่หลากหลาย

องค์กรร่วมร้อยพลัง
พัฒนาเยาวชน

ปี 2563 การเริ่มต้นสู่ความร่วมมือ…
3 โรงเรียนนำร่องชวน 5 องค์กร ร่วมร้อยพลังฯ

จังหวัดเชียงใหม่  – ไฉไล ออร์คิด รีสอร์ท ร่วมพัฒนาเยาวชนในโรงเรียนแม่วินสามัคคี อ.แม่วาง กับ โครงการ “English for Hospitality ในการช่วยพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะอาชีพให้กับนักเรียนที่อยู่ในชุมนุม “ภาษาสู่อาชีพ” ด้วยการสนับสนุนพนักงานมาเป็นวิทยากรให้กับน้องๆ นักเรียนในคาบชุมนุมตลอดทั้งปีการศึกษา เพื่อแนะนำและสอนการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษสำหรับการทำงานในรีสอร์ท

จังหวัดบุรีรัมย์ – มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ร่วมพัฒนาเยาวชนในโรงเรียนร่วมมิตรวิทยา อ. ลำปลายมาศ  กับ โครงการ English for everyday life” จัดค่ายและกิจกรรมเสริมความรู้และให้คำปรึกษาด้านหลักสูตรภาษาอังกฤษกับครูประจำวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียน โดยการมีส่วนร่วมในครั้งนี้จะไม่เน้นการพัฒนาแค่นักเรียนเท่านั้นแต่จะช่วยพัฒนาครอบคลุมไปถึงผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนไปพร้อมกันด้วย

จังหวัดกาญจนบุรี – โรงพยาบาลห้วยกระเจาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา, ธารปุญญ์เมล่อนฟาร์ม และสุวิทย์การยาง ร่วมพัฒนาเยาวชนในโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยา อ.ห้วยกระเจา กับแนวคิด “ค้นหาตัวตน ค้นหาอาชีพโดยโรงเรียนจะเตรียมความพร้อมของนักเรียนในคาบวิชาแนะแนวกับจัดกิจกรรม “ค้นหาตัวตน” ที่จะเน้นให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้นทั้งด้านความชอบ ความสนใจ ความถนัด ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับอาชีพต่างๆ โดยเฉพาะอาชีพที่มีอยู่ในชุมชน  และหลังจากนี้ทั้ง 3 องค์กรจะมาช่วยในการแนะแนวอาชีพให้เด็กๆ ได้เข้าใจและเรียนรู้แนวทางอาชีพในชุมชนของตนในลำดับต่อไป

ผลที่เกิดขึ้น

ขยายพื้นที่โครงการฯ ไปสู่โรงเรียนและชุมชนในเครือข่ายร้อยพลังการศึกษา
ในปี 2564 ได้ขยายพื้นที่ของโครงการฯ เพิ่มขึ้น ในโรงเรียนเครือข่ายร้อยพลังการศึกษา ดังนี้

จังหวัดเชียงใหม่
โรงเรียนบ้านเวียงฝาง อ.ฝาง แนวคิดการเรียนรู้อาชีพแบบครบวงจร”

จังหวัดกาญจนบุรี
โรงเรียนพระแท่นดงรังพิทยาคาร  อ.ท่ามะการ  “แนวคิดค้นหาตัวตน สู่การตั้งเป้าหมายชีวิต” และโรงเรียนพนมทวนอุปถัมภ์ อ.พนมทวน แนวคิด “เรียนรู้ทรัพยากรต่อยอดสู่อาชีพ”

จังหวัดศรีสะเกษ
โรงเรียนบ้านปรือคัน อ.ขุขันธ์  “แนวคิด อาชีพไหนที่ใช่ฉัน”

จังหวัดลำปาง
โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา อ.ห้างฉัตร แนวคิด “Collaboration of  English for Tourism X Smart Farming”

(เนื่องจากสถานการณ์โควิด – 19  การเรียนการสอนเป็นไปในรูปแบบออนไลน์
ส่งผลให้ไม่มีคาบแนะแนวและคาบชุมนุม จึงยังไม่สามารถจัดกิจกรรมในโครงการฯ ได้)