โครงการพัฒนาศักยภาพ
เด็กปฐมวัย (ICAP)

Integrated Child – Centered Active Learning project (ICAP) หรือ โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่บูรณาการการเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพด้วยต้นทุนต่ำแต่ได้ผลตอบแทนสูง มีความเป็นธรรมและเท่าเทียม เป็นการพัฒนาเด็กตามศักยภาพของแต่ละบุคคลเพื่อเป็นต้นทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าให้กับสังคมและประเทศชาติ

การดำเนินงาน
เพื่อการพัฒนาศักยภาพ
เด็กปฐมวัย

โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ตามแนวทาง HighScope / RIECE Thailand ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัยช่วงอายุ 2 – 6 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน

กระบวนการพัฒนาจะเน้นที่ตัวเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยส่งเสริมให้เด็กๆ ได้ใช้ประสาทสัมผัสครบทุกด้าน ผ่านการเล่นที่มีชีวิตชีวา เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิต โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กๆ ลงมือกระทำด้วยตนเอง ตามหลักสูตรการพัฒนาเด็กปฐมวัย ปี 2560 ซึ่งมี 6 กิจกรรมหลักของกระทรวงศึกษาธิการและผสมผสานสาระสำคัญ ดังนี้

1. ยึดหลักตามแนวคิด HighScope/RIECE Thailand โดยมีวงล้อการเรียนรู้ 5 ส่วน ดังนี้

  • การเรียนรู้แบบลงมือกระทำเพื่อให้เด็กๆ มีประสบการณ์สำคัญ, มีความคิดริเริ่ม, มีพัฒนาการสมวัย, มีทักษะสมอง EF, มีทักษะศตวรรษที่21, มีความมั่นคงมั่นใจ, เชื่อมั่นในศักยภาพของตน
  • ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่ – เด็ก จิตวิทยาและวินัยเชิงบวก ส่งเสริมการแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านกลยุทธ์ปฏิสัมพันธ์
  • การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ สื่อ พื้นที่ การจัดเก็บ
  • กิจวัตรประจำวัน เพื่อเด็กสามารถกำกับตนเอง วางแผน ลงมือทำ ทบทวนตนเอง ผ่านกิจกรรมกลุ่มใหญ่ / กลุ่มย่อย ให้โอกาสครูและเด็กๆ ได้เรียนรู้ร่วมกัน
  • การประเมินพัฒนาการของเด็ก, แผนการจัดประสบการณ์ของคณะทำงานด้วยการเขียนบันทึกประจำวัน

2. ปลูกฝังพฤติกรรมด้านสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อการมีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี
3. ให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือระหว่าง ครู – หมอ (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) – พ่อแม่ (ผู้ปกครอง) เพื่อการพัฒนาเด็กร่วมกัน
4. สร้างระบบ “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู” ร่วมปรึกษาในประเด็นต่างๆ เช่น การบริหารจัดการชั้นเรียน การจัดกระบวนการเรียนรู้ การประเมิน ฯลฯ อย่างต่อเนื่อง

ผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้รับการพัฒนาศักยภาพตามวัย

  1. เด็กมีประสบการณ์สำคัญ
  2. มีความคิดริเริ่ม
  3. มีพัฒนาการเหมาะสมตามช่วงวัย
  4. มีทักษะสมอง EF
  5. มีทักษะของศตวรรษที่ 21
  6. มีความมั่นคงและมั่นใจ
  7. มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตน

ผลการดำเนินงาน
ปี 2566

ขยายศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย
เข้าร่วมโครงการ

70
แห่ง

(ตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบัน
รวมจำนวน 130 แห่ง)

ห้องเรียนที่ใช้หลักสูตร
พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้

156
ห้อง

(ตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบัน
รวมจำนวน 253 ห้อง)

ครูที่ผ่านการอบรม
พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้

329
คน

(ตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบัน
รวมจำนวน 634 คน)

เด็กปฐมวัยได้พัฒนา
ศักยภาพการเรียนรู้

3,425
คน

(ตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบัน
รวมจำนวน 11,313 คน)

พื้นที่ร่วมพัฒนากับโครงการ ICAP
จำนวน 130 แห่ง

(ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2566)

จำนวนพื้นที่ร่วมพัฒนา
แบ่งตามภูมิภาค

ภูมิภาค จำนวน
ภาคเหนือ 23 แห่ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 แห่ง
ภาคกลาง 79 แห่ง
ภาคตะวันออก 5 แห่ง
ภาคใต้ 15 แห่ง

ประเภทพื้นที่ร่วมพัฒนา
จำนวน 130 แห่ง

ประเภท จำนวน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 123 โรงเรียน
โรงเรียนประถมศึกษา 6 โรงเรียน
โรงเรียนขยายโอกาส 1 โรงเรียน

ร่วมสนับสนุนเพื่อการกระตุ้น
พัฒนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย

บริจาคเงินเพื่อขยายกระบวนการ (ICAP)
ในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดต่างๆ

บริจาคชุดของเล่น สื่อการเรียนรู้
เพื่อเสริมทักษะและพัฒนาการ

สอบถามข้อมูลโครงการ

โทร : 094 362 2295
(คุณอุไรลักษณ์ ลาภเบญจกุล)
โทร : 091 240 0915
(คุณวาศินี เนียมอ่อน)
โทร : 064 101 7629
(คุณอัมพร อยู่เสดียง)
อีเมล : lcaplopburi@gmail.com

เปิดทำการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 น.
(หยุดเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

ติดตามข่าวสารและกิจกรรม
ร่วมกิจกรรม/แคมเปญ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร: 02 301 1061
โทร: 02 301 1080

E mail : ybf@ybf.premier.co.th
Line Official Account : https://lin.ee/di3tEQD