โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง และเด็กได้เรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำอย่างสร้างสรรค์
ICAP ย่อมาจาก Integrated Child – Centered Active Learning project (ICAP) หรือ โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่บูรณาการการเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ภายใต้การสนับสนุนจากมูลนิธิยุวพัฒน์
โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง และเด็กได้เรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำอย่างสร้างสรรค์
ICAP ย่อมาจาก Integrated Child – Centered Active Learning project (ICAP) หรือ โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่บูรณาการการเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ภายใต้การสนับสนุนจากมูลนิธิยุวพัฒน์
– รู้จักโครงการ ICAP –

โครงการ ICAP เป็นโครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย โดยมูลนิธิยุวพัฒน์ เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ตามแนวทาง HighScope / RIECE Thailand ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัยช่วงอายุ 2 – 6 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน กระบวนการพัฒนานี้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมให้เด็กมีการใช้ประสาทสัมผัสครบทุกด้าน ผ่านการเล่นที่มีชีวิตชีวาเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิต โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเองตามหลักสูตรการพัฒนาเด็กปฐมวัย ปี 2560 อันประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลักของกระทรวงศึกษาธิการและผสมผสานสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยึดหลักตามแนวคิด HighScope/RIECE Thailand โดยมีวงล้อการเรียนรู้ 5 ส่วน ดังนี้
- การเรียนรู้แบบลงมือกระทำเพื่อเด็กมีประสบการณ์สำคัญ, มีความคิดริเริ่ม, มีพัฒนาการสมวัย, มีทักษะสมอง EF, มีทักษะศตวรรษที่21, มีความมั่นคงมั่นใจ, เชื่อมั่นในศักยภาพของตน
- ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่-เด็ก จิตวิทยาและวินัยเชิงบวก ส่งเสริมการแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านกลยุทธ์ปฏิสัมพันธ์
- การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ สื่อ พื้นที่ การจัดเก็บ
- กิจวัตรประจำวัน เพื่อเด็กสามารถกำกับตนเอง วางแผน ลงมือทำ ทบทวนตนเอง ผ่านกิจกรรมกลุ่มใหญ่/กลุ่มย่อย ให้โอกาสครูและเด็กเรียนรู้ร่วมกัน
- การประเมิน พัฒนาการเด็ก,แผนการจัดประสบการณ์,คณะทำงาน ผ่านการบันทึกประจำวัน
2. ปลูกฝังพฤติกรรมสุขอนามัยพื้นฐานเพื่อการมีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี
3. ให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือระหว่าง ครู – หมอ (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) – พ่อแม่ (ผู้ปกครอง) เพื่อการพัฒนาเด็กร่วมกัน
4. สร้างระบบ “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู” ร่วมปรึกษาในประเด็นต่างๆ เช่น การบริหารจัดการชั้นเรียน การจัดกระบวนการเรียนรู้ การประเมินฯลฯ อย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพด้วยต้นทุนต่ำ แต่ได้ผลตอบแทนสูง มีความเป็นธรรมและเท่าเทียม เป็นการพัฒนาเด็กตามศักยภาพตามแต่ละบุคคลเพื่อเป็นต้นทุนทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าให้กับสังคมและประเทศ



ภาคีเครือข่ายการทำงาน
โครงการ ICAP ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย อันก่อให้เกิดความร่วมมือในด้านวิชาการ การระดมทรัพยากร การผลักดันนโยบายในทุกระดับ ด้วยพลังเครือข่ายอาทิ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในโครงการ RIECE Thailand คณะการศึกษาปฐมวัยและโรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด, ศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี, คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี, มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันเชนจ์ฟิวชั่นภายใต้ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, สถาบันรักลูกเลิร์นนิ่งกรุ๊ป, สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, มูลนิธิเด็กน้อยพัฒนา, เครือข่ายผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน), นักธูรกิจภาคเอกชนในและนอกจังหวัดลพบุรี ดร.นุรักษ์ มโนสุจริตธรรม, สมาคมนักลงทุนหุ้นเน้นคุณค่า (ประเทศไทย), บริษัทแคร์เนชั่น, บริษัทออโรร่าโกล์ดแอนเจมส์จำกัด เป็นต้น

ผลที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาเด็ก
- เด็กมีประสบการณ์สำคัญ, มีความคิดริเริ่ม, มีพัฒนาการสมวัย, มีทักษะสมอง EF, มีทักษะศตวรรษที่21, มีความมั่นคงมั่นใจ, เชื่อมั่นในศักยภาพของตน
- เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวมจากเครือข่ายร่วมพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย
การขยายพื้นที่โครงการ ICAP

ระดับอำเภอท่าวุ้ง
จังหวัดลพบุรี
———————-
14 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียน
กลไกการขับเคลื่อนงานผ่านคณะกรรมการการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) นายอำเภอท่าวุ้ง ประธาน
ระดับจังหวัด
จังหวัดลพบุรี
———————-
44 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนใน 8 อำเภอ (จังหวัดลพบุรี มี 11 อำเภอ)
คณะอนุกรรมการการพัฒนาเด็กปฐมวัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี (ประธาน)
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี (รองประธาน)
ระดับประเทศ
พื้นที่จังหวัดอื่นๆ
———————-
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดท้องถิ่น
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและศูนย์การเรียนรู้สังกัดบ้านมั่นคง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน)
20 จังหวัด (น่าน, แพร่, พะเยา, ลำปาง, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, กรุงเทพฯ, นนทบุรี, สุพรรณบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ชัยภูมิ, อำนาจเจริญ, ศรีสะเกษ, บึงกาฬ, อุบลราชธานี, สุรินทร์, สตูล, นราธิวาส, ตรัง)
ภาพรวมการทำงานในปี 2564
ปี 2564 เป็นปีที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ covid-19 เนื่องจากเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรง ประเทศไทยโดยรัฐบาลได้ออกประกาศแนวทางและมาตรการต่างๆเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบต่อชีวิตเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมน้อยที่สุด ทั้งมาตรการด้านการรักษาพยาบาลเพื่อลดการเสียชีวิต การป้องกันการแพร่ระบาดด้วยแนวทาง D-M-H-T การทำงานแบบ work form home เป็นต้น จากสถานการณ์ดังกล่าวบางกิจกรรมมีผลต่อกิจกรรมในการดำเนินงานของโครงการ ICAP ไม่สามารถทำได้ครบตามภารกิจที่ตั้งไว้ โดยขอสรุปในภารกิจที่เกี่ยวข้องพอสังเขป ดังนี้
การพัฒนาศักยภาพเด็กโดยบูรณาการด้านการศึกษา สุขภาพ สังคมชุมชน
ในปี 2564 โครงการ ICAP ได้ทดลองทำโมเดล โดยใช้หลัก design thinking เพื่อออกแบบการเลี้ยงดูเด็กในชุมชนในลักษณะสังคมชนบท มีเป้าหมายเพื่อเตรียมความพร้อมในทุกๆด้านให้เด็ก ก่อนที่จะเข้าสู่สถานศึกษา เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และปรับตัว ภายใต้โครงการ “โรงเรียนพ่อแม่” เน้นการเลี้ยงดูที่เหมาะสมตามวัย สร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้ปกครองที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ทดลองและนำไปสู่การปฏิบัติ โดยได้รับความร่วมมือจาก อบต.บางคู้ ในการสนับสนุนงบประมาณ และความร่วมมือของชุมชนตำบลบางคู้ และตำบลลาดสาลี่ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ covid-19 จำเป็นต้องชะลอกิจกรรมการดำเนินงาน
การขยายพื้นที่โครงการ ICAP โดยการฝึกอบรมครูผู้ดูแลเด็กในสถานศึกษาต่างๆ
1. การขยายพื้นที่โครงการ ICAP ที่เป็นการต่อยอดการทำงานของปี 2563 ได้แก่ เครือข่ายแพทย์ชนบทที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 11 จังหวัด ที่พื้นที่ได้คัดเลือกตามความพร้อมและความสมัครใจของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะเข้าร่วมโครงการ ICAP จำนวน 12 ศูนย์ โดยผ่านการอบรมแบบ online training ไปแล้วทุกแห่ง และทีม ICAP ได้ลงพื้นที่หน้างานเพื่อช่วยเหลือครูในการปรับสิ่งแวดล้อมให้มีลักษณะแบบ active learning และปรับปรุงสุขอนามัยในสถานการณ์การแพร่ระบาดcovid-19 จำนวน 4 ศูนย์
2. ขยายความร่วมมือกับเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนทั่วประเทศรวมถึง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และมูลนิธิยุวพัฒน์ ภายใต้โครงการ “การพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนและการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในเมืองชนบท”
3. การขยายพื้นที่โครงการ ICAP อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ โดยการจัดประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กใน 5 ตำบลของ อ.เทพสถิต มีวัตถุประสงค์พื้นขยายพื้นที่ตามความสมัครใจที่จะเข้าร่วมโครงการ
การประสานความร่วมมือการทำงาน ทางวิชาการ เชื่อมโยงภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน
บทบาทการทำงานเชิงนโยบายที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กนั้น จากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา โครงการ ICAP ได้ขยายพื้นที่และได้กระจายไปในหลายอำเภอของจังหวัดลพบุรี เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น จนในปี 2564 โครงการ ICAP ได้รับการคัดเลือกให้เป็นคณะอนุกรรมการการพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดลพบุรี รวมกับภาคส่วนอื่นๆในจังหวัด โดยมีบทบาทในการให้ข้อเสนอแนะ ให้ข้อคิดเห็น ในมิติที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในเรื่องการพัฒนาศักยภาพ การศึกษา สุขภาพอนามัย
ในบทบาทการพัฒนาศักยภาพเด็ก เรื่องทักษะการบริหารชีวิตที่สำเร็จ หรือ executive function (EF) ของ RLG โครงการ ICAP ได้นำ EF มาประยุกต์ใช้ในเด็กปฐมวัย ทำให้เป็นที่น่าสนใจว่าเด็กปฐมวัยก็สามารถจัดการเรียนการสอนแล้วเด็กมี EF ได้ และในปี 2564 โครงการ ICAP ได้รับเชิญให้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่ม RLG ในฐานะผู้มีประสบการณ์การพัฒนา EF ในเด็ก
เนื่องจากโครงการ ICAP เป็นโครงการพัฒนาศักยภาพเด็ก เป็นการสร้างเด็กให้มีคุณภาพเพื่อเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต เป็นงานที่มีเป้าหมายและมีคุณค่า เพื่อให้โครงการ ICAP ได้ขยายพื้นที่ไปได้มากที่สุด จำเป็นต้องได้รับงบประมาณเพื่อมาเป็นทุนในการพัฒนาเด็ก ในโอกาสนี้ โครงการ ICAP ได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัทออโรร่าประเทศไทย นักลงทุนหุ้นมุ่งเน้นคุณค่า (VI) พวงหรีดสานบุญ (carenation) นักธุรกิจในจังหวัดลพบุรี ได้สนับสนุนช่วยเด็กให้ได้รับโอกาสที่ดี ซึ่งถือว่าเป็นความร่วมมือในการระดมทรัพยากรในการช่วยเหลือเด็ก
การให้คำปรึกษากับครู ผู้ปกครอง ที่สงสัยว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้าหรือเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามวัย
ภายหลังที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เข้าร่วมโครงการ ICAP ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนมาอย่างต่อเนื่องและครูผู้ดูแลเด็กได้สังเกตพบว่า จะมีเด็กบางรายไม่สามารถร่วมกิจกรรมเหมือนเพื่อนในห้องได้ เด็กแสดงพฤติกรรมที่ต่างจากเพื่อนคนอื่น เพื่อให้เด็กได้รับการช่วยเหลือดูแลที่เหมาะสมและเป็นความร่วมมือการทำงานร่วมกัน ระหว่างโครงการ ICAP ครู และผู้ปกครองเด็ก จึงได้ส่งข้อมูลให้โครงการ ICAP ได้ลงเยี่ยมบ้านเด็ก ตามข้อมูลการสังเกตของครู โดยในปี 2564 มีเด็กที่โครงการ ICAP ได้ลงเยี่ยมบ้านแล้ว 11 ราย
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ตั้งแต่ปี 2560 – 2564

สถานพัฒนา
เด็กปฐมวัย
เข้าร่วมโครงการ
รวม 117 แห่ง

เด็กปฐมวัยที่ได้เรียน
ตามแนวทาง ICAP
รวม 7,280 คน

ห้องเรียน
ที่เข้าร่วมโครงการ
รวม 197 ห้อง

ครูที่ผ่าน
การอบรม ICAP
รวม 243 คน
พัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยผ่านการเล่นที่มีชีวิตชีวา
เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิต ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้
ด้วยต้นทุนต่ำแต่ได้ผลตอบแทนสูง
สอบถามข้อมูลโครงการเพิ่มเติม
คุณอุไรลักษณ์ ลาภเบญจกุล โทร : 094 362 2295
คุณวาศินี เนียมอ่อน โทร : 091 240 0915
คุณอัมพร อยู่เสดียง โทร : 064 101 7629
email : lcaplopburi@gmail.com
ติดตามข่าวสารโครงการ ICAP
Facebook : โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย ICAP Lopburi
Tiktok : ICAP_FOR CHILDHOOD